ชนิดของคำในภาษาไทยอ่านเพิ่มเติม
1. คำนาม หมายถึง
คำพื้นฐานสามัญใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ ได้แก่ คน สัตว์
สิ่งของ อาการ สถานที่
ชนิดของคำนาม แบ่งเป็น ๕ ชนิด
สามานยนาม
คือ
คำนามทั่วไปที่ไม่ได้ระบุชื่อ มีลักษณะเป็น
คำนามที่กล่าวกว้าง ๆ
ไม่เจาะจง
ตัวอย่างคำสามานยนาม
ครู นักเรียน ทหาร
อาชีพ การบ้าน วิชา
นก ต้นไม้ ฯลฯ
วิสามานยนาม คือ
คำนามที่ระบุชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ
สถานที่ หรืออาการเพื่อระบุว่าเป็นสิ่งนั้นเฉพาะ
ตัวอย่างคำวิสามานยนาม
กวางเรนเดีย ทหารเรือ
ภาษาไทย ทุเรียน ลำไย
เอดส์ ฟุตบอล ฯลฯ
สมุหนาม คือ คำนามแสดงหมวดหมู่
หรือคำนามแสดงจำนวน
พหูพจน์ (มากกว่าหนึ่ง)
ตัวอย่างคำสมุหนาม
กอง หมู่
เหล่า คณะ ทบวง
กระทรวง กรม โขลง ฯลฯ
ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่ขยายคำนามข้างหน้าเพื่อ
บอกลักษณะรูปทรง สัณฐานของนามนั้น
ตัวอย่างคำลักษณนาม
อัน องค์
กอ กำ กุลี
ขอน คู่ จีบ
ซี่ ด้าม ฯลฯ
อาการนาม คือ คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ที่ใช้คำว่า การ,
ความ
มานำหน้า
ตัวอย่างคำอาการนาม
การเกิด การตาย
การเจริญเติบโต การแผ่รังสี ความร้อน
ฯลฯ
ข้อสังเกตควรจำ
คำลักษณนาม กับ คำสมุหนาม
อาจใช้คำเดียวกัน
น้อง ๆ จะเกิดความสงสัยได้ว่าเป็นลักษณนามเมื่อไหร่ และเป็นสมุหนามเมื่อไหร่
อย่างไร มีข้อสังเกตดังนี้
๑. จงจำไว้ว่า คำลักษณนาม จะต้องอยู่หลังคำนาม
หรือหลังคำ
บอกจำนวน
๒. จงจำไว้ว่า คำสมุหนาม จะต้องอยู่หน้าคำนาม
หรือหน้าคำ
บอกจำนวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น